sabyejung http://sabyejung.siam2web.com/

ภาวะพร่องแมกนีเซียมในเลือด (Hypomagnesemia)

แม้พบความผิดปกตินี้ไม่บ่อยเท่าความผิดปกติของเกลือแร่ที่กล่าวมาแล้ว แต่
มักพบร่วมกับความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะ Hypokalemia และ Hypocalcemia และภาวะ Hypomagnesemia นี้ยังสามารถทำให้เกิดความผิดปกติของ neuromuscular system และระบบหัวใจ โดยเฉพาะ Cardiac arrhythmia ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินเช่นกัน ระดับ Magnesium ปกติในเลือด มีค่า 0.7 ถึง 1.0 mmol/L (1.7-2.4 mg/dL)

โดยสรุป  Hypomagnesemia ทำให้เกิด Hypokalemia จากการที่ทำให้มีการสูญเสียโพแทสเซียมไปจากเซลล์33 และ Hypocalcemia จากการที่มีการหลั่ง PTH บกพร่อง34 และมี PTH resistance ที่ kidney และ bone35 จึงควรต้องตรวจระดับ magnesium เสมอในกรณีที่พบความผิดปกติ 2 ภาวะนี้ การไม่แก้ภาวะ magnesium ที่ผิดปกติด้วย จะทำให้การแก้ไขความผิดปกติ 2 ภาวะนี้ยากยิ่งขึ้น
Hypomagnesemia  ทำให้เกิดความผิดปกติของ neuromuscular system ที่พบได้คือ weakness, tetany, muscle spasms ได้คล้ายภาวะ Hypocalcemia ความผิดปกติของ cardiovascular system ที่เกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นที่รู้จักกันดี คือ Long QT interval ซึ่งจะทำให้เกิด torsade de pointes

การรักษา ภาวะ Hypomagnesemia32

ดังเช่นความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของภาวะ Hypomagnesemia จะต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน ภาวะ Hypomagnesemia มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของเกลือแร่ชนิดอื่น โดยเฉพาะ Hypokalemia และ Hypocalcemia ได้บ่อย จึงต้องประเมินและรักษาความผิดปกติของเกลือแร่ 2 ชนิดนี้ควบคู่กันไป
ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักหรือ arrhythmia ที่เกิดจากภาวะ Hypomagnesemia การรักษาโดยทันทีกระทำได้โดย ให้ MgSO4 1-2 grams (8-16 mEq ของ elemental Mg) ในเวลา 5-10 นาที จนกระทั่งไม่มีอาการ แล้วต่อด้วย  6 grams (48 mEq ของ Mg) drip ใน 24 ชั่วโมง36  เพื่อจะคงระดับ Mg ไว้ และ restore body total Mg storage
ระวัง compatibility ของสารละลาย MgSO4 กับ สารละลาย Ca บางชนิดด้วย การให้ Mg ควรระวังในผู้ป่วยไตวาย ควรลดขนาดของ dosage ลงครึ่งหนึ่ง  ควรมีการเฝ้าระวังระดับ Mg ในเลือดอย่างน้อยวันละครั้ง ภาวะพิษจาก Hypermagnesemia จะเกิดขึ้นเมื่อระดับมากกว่า 3-4 mEq/L ทำให้เกิด hypotension, flushing, nausea, lethargy และ decreased deep tendon reflexes ถ้าระดับสูงมากๆ อาจมี muscle weakness มากจน respiratory compromise หรือ cardiac arrest ได้37


ภาวะไม่สมดุลของ แมกนีเซียม (Magnesium imbalances)

กลไกควบคุมแมกนีเซียมในร่างกาย
      ในคนปกติ 50% ของแมกนีเซียมอยู่ที่กระดูก 45 % อยู่ที่ intercellular space และ 5 % ใน extracellular space ระดับของแมกนีเซียมในเลือดปกติมีค่าประมาณ 1.3 – 2.5 mEg/L  สองในสามส่วนของแมกนีเซียมในเลือดจะจับกับ โปรตีน การแตกตัวของแมกนีเซียมก่อให้เกิดการระคายเคืองของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  แมกนีเซียมเป็นสารที่สำคัญในระบบเอนไซม์ เป็นตัวที่ขัดขวางหรือลดการหลั่ง neurotransmitter acetylcholine ที่ปลายประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวภายหลังการหดตัว นอกจากนี้แมกนีเซียมยัง มีความสำคัญในระบบเอ็มไซม์ การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน  การขนส่งโซเดียมและโปแตสเซียมผ่านเซลล์เมมเบรน โดยกระตุ้นกลไก Sodium-potassium pump ภาวะขาดแมกนีเซียมมักจะเกิดร่วมกับภาวะ ไม่สมดุลของโปแตสเซียมและแคลเซียม ความเข้มข้นของ แมกนีเซียมในเลือดถูกควบคุมโดยไต โดยการควบคุมของ aldosterone และ parathyroid hormone   ภาวะไม่สมดุลของ แมกนีเซียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ
ภาวะแมกนีเซียมใน เลือดต่ำ (Hypomagnesemia)
เป็นภาวะที่ แมกนีเซียมในพลาสมาต่ำกว่า   1.3 mEq/L  พบได้ในผู้ป่วยทั่วไป แต่พบบ่อยใน   ผู้ป่วยวิกฤตโดยเฉพาะผู้ป่วยหลัง ผ่าตัด
สาเหตุของ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ   เกิดขึ้นได้จากการได้รับหรือการดูดซึมไม่พอ ไตขับออกมากเกินไป ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบ  ภาวะติดสุราเรื้อรัง (พบเป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะขาดแมกนีเซียม เนื่อ งจากการได้รับทางอาหารน้อยลง การดูดซึมไม่ดี การสูญเสียจากการ อาเจียน) นอกจากนี้ยังพบได้เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
      1)    การดูดซึมแมกนีเซียมที่ลำไส้ลดลง จากภาวะมะเร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้    ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ การรับประทานอาหารได้น้อย และภาวะขาดสารอาหาร หรือจาการได้รับยาปฏิชีวนะ เช่น ยากลุ่ม aminoglycoside (gentamycin)  ยา antineoplastic agent เช่น cisplatine (Platinol)
      2)   การสูญเสียแมกนีเซียมทางระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นที่เป็นส่วนสำคัญในการดูดซึมแมกนีเซียม สาเหตุจากอาเจียน ภาวะท้องเสียเรื้อรัง  การทำ ileostomy  ลำไส้เล็กทะลุ (intestinal fistula)  ภาวะ ที่มีการสูญเสียสารคัดหลั่งของทางเดินอาหาร เช่น GI suction or draining
   3. การขับทิ้งแมกนีเซียมที่ไตมากขึ้น
          o จากฤทธิ์ของยาขับปัสสาวะกลุ่ม loop diuretics เช่น  ethacrynic acid และ furosemide (lasix)
          o ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยากลุ่ม aminoglycoside เช่น gentamycin ยาต้านเชื้อ รา เช่น amphoteracin B  ยากลุ่ม steroids
          o ภาวะไตวายเฉียบพลันในระยะ  necrosis phase ที่มีภาวะ diuresis
          o Hyperaldosteronism ที่มีภาวะคั่งน้ำ  ทำให้ความเข้มข้นของแมกนีเซียมในเลือดลดลง
          o ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะ diabetic ketoacidosis  ภาวะ osmotic diuresis จากระดับน้ำตาลในเลือด สูง ทำให้สูญเสียแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะ  และจากการได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแมกนีเซียมและโปแตสเซียมเข้าสู่เซลล์
      นอกจากนี้ยังพบ ได้ในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยมีการสูญเสียระหว่างการทำแผลและทางน้ำเหลืองที่ซึมจากแผล
      การประเมินภาวะแมกนีเซียม ต่ำ
      1. การประเมินประวัติที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  ประวัติการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือภาวะอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องเดิน  ประวัติการได้รับยาที่มีให้มีการสูญเสียแมกนีเซียม เช่น  ยาขับปัสสาวะ   การได้รับสารอาหาร การอดอาหาร หรือการได้รับอาหารไม่เพียงพอ
      2. อาการแสดงของภาวะแมกนีเซียมต่ำจะเกิดขึ้นเมื่อ ระดับแมกนีเซียมลดลงต่ำกว่า 1 mEq/L ภาวะแมกนีเซียมต่ำมักทำให้ ระดับของแคลเซียม โปแตสเซียม และฟอสฟอรัสต่ำไปด้วย เพราะฉะนั้นอาการและอาการแสดงของภาวะเหล่านี้จึงเกิดร่วมกับภาวะแมกนีเซียม ต่ำด้วย ที่พบได้แก่
      1) เพิ่มการตอบสนองของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neurological irritability) อาการที่พบ คือ อาการสั่น (tremors) ไวต่อการกระตุ้น (hyper-reactive reflexes) อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ภาวะซึมเศร้า เฉยเมย สับสน กระวนกระวาย ชัก  ประสาทหลอน หรืออาการทางจิตได้  ภาวะแมกนีเซียมต่ำอย่างรุนแรงทำให้เกิด Laryngeal stridor   coma  หรือ sudden death  นอกจากนี้อาจพบอาการที่ เกิดจากภาวะแคลเซียมต่ำ คือ Chvostek’s sign (การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ บริเวณใบหน้า) และ Trousseau’s sign (การหดเกร็งของกล้ามเนื้อแขน และข้อมือ)
      2) การทำงานของหัวใจผิดปกติ พบมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ เช่น Vertricular dysrhythmias ในผู้ป่วยที่ได้รับยา digitalis ภาวะแมกนีเซียมต่ำจะทำให้เกิดภาวะ digitalis intoxication เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการสูญเสียแมกนีเซียมและโปแตสเซียมจากการได้รับยาขับปัสสาวะ
        3) ระบบทางเดินอาหาร มักเกิดร่วมกับการที่มีโปแตสเซียมต่ำ พบว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย หรือท้องอืด
     3.    การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
    * การตรวจทางชีวเคมีของเลือด พบระดับของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ยังอาจพบระดับแคลเซียม โปแตสเซียม และฟอสฟอรัส ผิดปกติร่วมด้วย
    * การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาวะแมกนีเซียมต่ำพบ Widened QT & PR  Prolonged QRS complex,  T wave inversion  อาจ พบ Depressed ST segment
      ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะ แมกนีเซียมต่ำ
         1. การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากรับประทานได้น้อย
         2. ระดับความรู้สติเปลี่ยนแปลง
         3. มีโอกาสเกิดอันตรายจากการชักหรือ การเกร็งของกล้ามเนื้อ
         4. ภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก decrease cardiac output จากภาวะหัวใจ เต้นผิดปกติ
      การพยาบาล
         1. การแก้ไขภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ โดย
   1. การให้ทดแทนทางอาหาร โดยปกติหากผู้ป่วยได้รับอาหารตามปกติ อาการของภาวะขาดแมกนีเซียมจะหายไป นอกจากในรายที่ยังมีการสูญเสียทางไตและทางเดินอาหาร อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม กล้วย ส้ม องุ่น มะพร้าว
   2. การให้แมกนีเซียมทดแทน อาจให้ทดแทนในรูปของการรับประทาน แมกนีเซียมออกไซด์ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือให้ทดแทนในรูปแมกนีเซียมซัลเฟต 50 % 12 ml (4 g/mEq) ผสมในกลูโคส 1,000 มิลลิลิตร หยดเข้าหลอดเลือดดำในเวลา 4 – 6 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง จนมีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทและหัวใจเต้นผิดปกติ อาจต้องเตรียม Calcium gluconate ไว้เพื่อแก้ไขในภาวะ ที่มีภาวะแมกนีเซียมสูงเฉียบพลัน
            3)    การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้การ ดูดซึมลดลง เช่น รักษาภาวะมะเร็งของทางเดินอาหาร โรคลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ภาวะท้องเสียเรื้อรัง   การทำ  ileostomy และภาวะลำไส้เล็กทะลุ (intestinal fistula)
            4)   งดยากลุ่มที่ทำให้แมกนีเซียมต่ำ เช่นยาขับปัสสาวะ หรือ steroid เป็นต้น
         5)   รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่ทำ ให้เพิ่มการขับแมกนีเซียมออกมากับปัสสาวะ
         6)   สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะแมกนีเซียมต่ำ ในผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต และอื่น ๆ เพื่อประเมินปัญหาและแก้ไขในระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับ digitalis ภาวะแมกนีเซียมต่ำทำให้เกิด digitalis toxicity ได้
   7. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินระดับแมกนีเซียมในเลือด และอิเลคโตรลัยท์ตัวอื่นๆ
   8. ให้ความรู้กับผู้ป่วยเกี่ยวกับการ ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม เนย เป็นต้น
   9. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุในผู้ ป่วยที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือที่มีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยที่มีภาวะแมกนีเซียมต่ำอย่างรุนแรง ควรดูแลภาวะชักที่อาจเกิดขึ้นได้
  10. ติดตามประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหัวใจหยุดเต้น
  11. ติดตามประเมินอาการและความรุนแรง โดยการตรวจอาการที่เกิดจากภาวะแคลเซียมต่ำ คือ Chvostek’s sign  และ Trousseau’s sign

ภาวะแมกนีเซียมใน เลือดสูง (Hypermagnesemia)
      เป็น ภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดสูงกว่า  2.5  mEq/L
      สาเหตุของ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง
   1. ภาวะไตวาย เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดภาวะแมกนีเซียมสูงเนื่องจากอัตราการกรอง ปัสสาวะลดลง
   2. การได้รับยาที่มีแมกนีเซียม โดยเฉพาะพวก magnesium-containing antacids อย่างไรก็ตามมักพบใน ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบได้ในภาวะที่ได้รับสารละลายที่มีแมกนีเซียมทางหลอดเลือดดำ  การ ได้รับ total parenteral nutrition หรือ hemodialysis ที่ใช้ hard water dialysate
   3. การเจ็บป่วยและการได้รับการรักษา ด้วยแมกนีเซียม  เช่น diabetic ketoacidosis   Adrenal insufficiency  การให้ แมกนีเซียมในการรักษา pre-eclampsia of pregnacy 
      การประเมิน ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง
      1. การประเมินประวัติที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  ประวัติการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง  หรือภาวะอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การได้รับยาลดกรด  การได้รับอาหาร การได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ
      2. อาการแสดงของภาวะแมกนีเซียมสูง
   1. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ภาวะแมกนีเซียมสูงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และการส่งกระแสประสาท (neuromuscular transmission) มีผลให้เกิดอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่มี deep-tendon reflexes  คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก หน้าแดง เป็นต้น ตรวจพบว่าจะมีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยน ซึมลง พูดไม่ชัด รีเฟล็กซ์ช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนถึงอัมพาต
   2. ระบบหายใจ ภาวะที่แมกนีเซียมสูงมาก ๆ ทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจอ่อนแรง เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
   3. ระบบหัวใจ มีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ หัวใจเต้นช้าลง มี heart block หรือหัวใจหยุดเต้นได้ จะพบว่ามีความดันโลหิตต่ำ
      3  การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
    * การตรวจทางชีวเคมีของเลือด พบระดับของแมกนีเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ (< 2.5 mEq/L)  นอก จากนี้ยังอาจพบระดับแคลเซียม โปแตสเซียม และฟอสฟอรัส ผิดปกติร่วมด้วย
    * การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาวะแมกนีเซียมสูงพบ prolonged PR interval, widened QRS complex และ QT interval อาจพบมี complete heart block และหัวใจหยุดเต้น
      ปัญหาที่พบในภาวะแมกนีเซียม สูง
         1. ภาวะพร่องออกซิเจนจากภาวะหายใจล้ม เหลว
         2. ภาวะพ่องออกซิเจน เนื่องจาก Low cardiac out put  จากการ เต้นของหัวใจผิดปกติ
         3. เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากระดับ ความรู้สึกเปลี่ยนแปลง
      การพยาบาล
         1. การแก้ไขภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง โดย
   1. การบำบัดทดแทนทางไต เพื่อกำจัดแมกนีเซียมเกินออก
   2. การให้แคลเซียมกลูโคเนต  ในรายที่มีภาวะแมกนีเซียมสูงอย่างรุนแรง ที่มีภาวะกดขาดการหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ต้องให้ calcium gluconate ทางหลอดเลือดดำ [5 – 10 mEq (100 – 200 mg)]
      2.    การหยุดยาที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม เช่น antacids และสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น
      3.    การแก้ไขความผิดปกติของไต และการให้สารน้ำเพื่อเพิ่มการขับออกของแมกนีเซียม
         4. การดูแลและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน จากภาวะแมกนีเซียมสูง
   1. สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ แมกนีเซียมสูงในผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต และอื่น ๆ เพื่อประเมินปัญหาและแก้ไขในระยะเริ่มแรก ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ความดันต่ำ หายใจตื้น อาจมีหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
   2. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินระดับแมกนีเซียมในเลือด
   3. ให้ความรู้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไม่ สมดุลของแมกนีเซียมเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในเรื่องการรับประทาน อาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม เนย เป็นต้น ในผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีแมกนีเซียมสูง
   4. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุในผู้ ป่วยที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือที่มีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
   5. ติดตามประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหัวใจหยุดเต้น
   6. ผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาเรื่องภาวะน้ำ เกินควรได้รับสารน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มการขับแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะ ประเมินสมดุลของสารน้ำ
การพยาบาลด้านจิต สังคม และจิตวิญญาณ (Psychosocial and spiritual care)
   1. ลดความกลัวและความวิตกกังวล อาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของแมกนีเซียม ย่อมก่อให้เกิดความกลัวและวิตกกังวลแก่ผู้ป่วยและครอบครัวติ  ความรู้สึกวิตกกังวลนี้อาจมีผลกระทบต่อภาวะการเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นพยาบาลควรต้องประเมินการรับรู้และระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วย การลดความกลัวและความวิตกกังวล ทำได้โดยการให้ข้อมูลเรื่องการเจ็บป่วยและการดูแลรักษาที่ ผู้ป่วยได้รับอยู่ในขณะนั้น บอกวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย ให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพจากทีมสุขภาพ ส่งเสริมในผู้ป่วยใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
   2. ปรับเปลี่ยนแบบแผนชีวิต ผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของแมกนีเซียม ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนแบบแผนชีวิตในเรื่อง การเลือกชนิดอาหารที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนการทำกิจกรรมประจำวัน  โดยการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือการเกร็ง กระตุก


Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 128,780 Today: 35 PageView/Month: 261

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...